ภาษาศาสตร์แบบพึ่งพาบริบท (Contextual linguistics) ของ ภาษาศาสตร์

ภาษาศาสตร์แบบพึ่งพาบริบทเป็นวงการซึ่งหลักภาษาศาสตร์เชื่อมโยงกับศาสตร์วิชาการด้านอื่น ๆ ในขณะที่ภาษาศาสตร์เชิงทฤษฎีจะศึกษาภาษาโดยไม่คำนึงถึงปัจจัยอย่างอื่นภายนอกนั้น แขนงวิชาที่มีการผสมหลายหลักการของภาษาศาสตร์จะวิเคราะห์ภาษาว่ามีปฏิสัมพันธ์กับปัจจัยภายนอกอย่างไรบ้าง

ในภาษาศาสตร์สังคม (en:Sociolinguistics) ภาษาศาสตร์เชิงมานุษยวิทยา (en:Anthropological Linguistics) และมานุษยวิทยาเชิงภาษาศาสตร์ (en:Linguistics Anthropology) จะมีการวิเคราะห์สังคมโดยใช้หลักสังคมศาสตร์ควบคู่ไปกับหลักทางภาษาศาสตร์

ในปริจเฉทวิเคราะห์เชิงวิพากษ์ (en:Critical Discourse Analysis) จะมีการนำศิลปะการใช้ถ้อยคำ (en:Rhetoric) และปรัชญา มาประยุกต์รวมกับหลักภาษาศาสตร์

ในภาษาศาสตร์จิตวิทยา (en:Psycholinguistics) และภาษาศาสตร์เชิงประสาทวิทยา (en:Neurolinguistics) จะมีการนำหลักทางแพทยศาสตร์มาประยุกต์ใช้ร่วมกับหลักทางภาษาศาสตร์

นอกจากนี้ยังมีแขนงวิชาอื่น ๆ ที่มีการผสมหลักการทางภาษาศาสตร์เข้าไป เช่น การรู้ภาษา (en:Language Acquisition), ภาษาศาสตร์เชิงวิวัฒนาการ (en:Evolutionary linguistics), ภาษาศาสตร์แบบแบ่งเป็นชั้น (en:Stratificational Linguistics) และ ปริชานศาสตร์ (en:Cognitive science)

ใกล้เคียง

ภาษาศาสตร์ ภาษาศาสตร์เพิ่มพูน ภาษาศาสตร์โอลิมปิกระหว่างประเทศ ภาษาศาสตร์คอมพิวเตอร์ ภาษาศาสตร์โอลิมปิกแห่งประเทศไทย ภาษาศาสตร์เชิงประวัติ ภาษาศาสตร์สังคม ภาษาศาสตร์เปรียบเทียบ ภาษาศาสตร์จิตวิทยา ภาษาศาสตร์ประสาทวิทยา